สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24-30 มิถุนายน 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมิถุนายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.294 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 4.72 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.212 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 3.42 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,987 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,988 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,085 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,245 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน    
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,470 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.29
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 891 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,544 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,160 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 616 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,025 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 632 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,055 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,030 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,915 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 616 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,472 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.60 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 557 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.5253 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
          นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การประมูลข้าวสาร 10 ปี จากโครงการรับจำนำของรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณเพียง 15,000 ตัน ไม่มีผลต่อราคาข้าวในตลาด แต่ปัจจัยที่จะทำให้ไทยแข่งขันลำบาก คือ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างเวียดนาม โดยราคาส่งออกข้าวไทยสูงกว่าเวียดนามประมาณตันละ 100 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 3,653 บาท) เช่น ข้าวหอมมะลิไทยตันละ 900 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 32,873 บาท) ขณะที่ข้าวเวียดนามอยู่ที่ตันละ 670 – 680 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 24,472 – 24,837 บาท) ประกอบกับข้าวของเวียดนามมีคุณภาพดีขึ้น ทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวอย่างอินโดนีเซียที่คาดว่าจะนำเข้าข้าวเดือนละ 3 แสนตัน มีแนวโน้มที่จะประมูลข้าวจากเวียดนาม และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ นโยบายการส่งออกข้าวของอินเดียหลังจากผ่านพ้นการเลือกตั้ง มีแนวโน้มที่จะยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ และกลับมาส่งออกข้าวในไตรมาส 4 ทำให้อุปทานข้าวในตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันด้านราคาในช่วงครึ่งปีหลังให้สูงขึ้นด้วย แม้ว่าที่ผ่านมาอินเดียมีการเก็บภาษีส่งออกข้าวในอัตราร้อยละ 20 แต่ราคาข้าวของอินเดียก็ยังต่ำกว่าไทยตันละ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 2,557 – 2,922 บาท)
          อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยยังคงมั่นใจว่า การส่งออกข้าวของไทยในปี 2567 จะสามารถส่งออกได้ปริมาณ 8 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับเวียดนามที่คาดว่าจะส่งออกที่ปริมาณ 8 ล้านตัน เช่นกัน โดยการส่งออกข้าวไทยในครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2567) คาดว่าจะมีประมาณ 5 ล้านตัน ส่วนครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม – ธันวาคม 2567) คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มอีก 3 ล้านตัน หรือต้องส่งออกเฉลี่ยเดือนละ 5 แสนตัน ซึ่งชนิดข้าวที่มีโอกาสในการส่งออก ได้แก่ ข้าวขาว ส่วนข้าวหอมมะลิอาจแข่งขันลำบากขึ้น และข้าวนึ่งที่พึ่งพาตลาดแอฟริกา ไนจีเรีย โมซัมบิก ในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวนึ่งได้เพียง 3.2 แสนตัน ลดลงร้อยละ 28 เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง ทั้งนี้ ต้องติดตามสถานการณ์ราคาว่าจะยังสามารถแข่งขันได้หรือไม่ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.5253 บาท
2) บราซิล
บราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันตก ได้คาดการณ์ปริมาณการนำเข้าข้าวปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านตัน นับเป็นปริมาณการนําเข้าสูงสุดในรอบสองทศวรรษ เนื่องจากเกิดน้ำท่วมหนักในรัฐ Rio Grande do Sul ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของบราซิล ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวในปี 2566/67 ลดลงมาก คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 7.0 ล้านตัน
ในการนี้ รัฐบาลบราซิลได้ดำเนินการยกเว้นภาษีนําเข้าสำหรับข้าวเปลือก (100610) ข้าวเปลือก/ข้าวกล้อง (100620) และข้าวสี (100630) ได้ทุกประเทศ จากเดิมที่อนุญาตให้เฉพาะประเทศผู้ผลิตในกลุ่ม Mercosur เท่านั้น โดยมีผลตั้งแต่ 21 พฤษภาคม 2567 จนถึง 31 ธันวาคม 2567 และได้ประกาศนําเข้าข้าว 1.0 ล้านตัน ภายในสิ้นปี 2567 มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุปทานข้าวและควบคุมราคาข้าวในประเทศ โดยวันที่ 6 มิถุนายน 2567 รัฐบาลบราซิลได้ดำเนินการเปิดประมูลข้าวครั้งแรก ประมาณ 260,000 ตัน จากที่ได้รับอนุญาต 300,000 ตัน ซึ่งบริษัทจัดหาธัญพืชแห่งชาติของบราซิล (The National Supply Company หรือ CONAB) ได้กําหนดให้ส่งมอบข้าวภายในวันที่ 8 กันยายน 2567 และจะขายข้าวในบรรจุภัณฑ์ขนาด 5 กิโลกรัม กำหนดราคาสูงสุดที่กิโลกรัมละ 0.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณกิโลกรัมละ 27.76 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.5253 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.45 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน      
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  12.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 343.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,514.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 342.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,491.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 23.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 418.00 เซนต์ (6,079.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,422.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.43 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 343.00 บาท



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.63 ล้านตัน (ร้อยละ 2.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.71 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย ฝนตกในหลายพื้นที่ทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.17 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.16 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.98 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.72บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.37
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.38 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.58 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.08
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,750 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 235.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,650 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.06
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 531.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,530 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 541.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,900 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.85


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.893 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.341 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 2.205 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.397 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 14.15 และร้อยละ 14.11 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.62 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.73 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.99
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียลดลง ตามความต้องการของอินเดียที่ลดลงถึงแม้ว่าทางอินเดียจะมีมาตรการทางภาษี duty concession ในการนำเข้าน้ำมันพืชบริโภค
นอกจากนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบอาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงตามปริมาณสต็อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่ชะลอตัวลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,051.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.83 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,035.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.55
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ     
         - บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) (Khon Kaen Sugar Industry Public Company Limited: KSL) รายงานปริมาณอ้อยเข้าหีบของบริษัทในปี 2566/67 ลดลงร้อยละ 20 เหลือปริมาณ 5.43 ล้านตัน จาก 6.60 ล้านตัน ในปี 2565/66 อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณอ้อยในปี 2567/68 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ที่ปริมาณ 6.5 ล้านตัน ทั้งนี้ KSL ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การก่อสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่จังหวัดสระแก้ว คาดว่าจะพร้อมเดินเครื่องภายในเดือนธันวาคม 2567 โดยเบื้องต้นจะมีกำลังการผลิตที่ 20,000 ตันอ้อยต่อวัน (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) วางแผนการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปริมาณ 200,000 ตัน ในเดือนกันยายน 2567 เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุปทานน้ำตาลภายในประเทศ และเพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลในท้องตลาด โดย DA จะสรุปคำสั่งซื้อภายในสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฎาคมนี้ เนื่องจากสต๊อกน้ำตาลในปัจจุบันคาดว่าจะลดลงภายในเดือนสิงหาคม โดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์กล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์ของการนำเข้าน้ำตาลในครั้งนี้เพื่อปิดช่องว่างการขาดแคลนน้ำตาลก่อนฤดูหีบอ้อยที่จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2567 (ที่มา: chinimandi)



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,163.30 เซนต์ (15.79 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,161.80 เซนต์ (15.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 365.03 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.49 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 361.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.30 เซนต์ (35.25 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 43.99 เซนต์ (35.78 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 958.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 960.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 821.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 822.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และคงตัวในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,399.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.12 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,401.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1069.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1070.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 843.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 844.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.06 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.62 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,975 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,144 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,616 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  68.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.78 คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.58 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,900 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.50 คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.07 คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 376 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  374  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 391 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  417  บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 443 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 391 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 448 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.21 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.04 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.15 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.35 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 24 – 30 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.47 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.81 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 122.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.34 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา